เศรษฐกิจพอเพียง

“เศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน              แบบพอมีพอกินนั้น

หมายความว่าอุ้มชู ตัวเองได้           ให้มีพอเพียงกับตัวเอง”

พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 

               “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัส ชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาว
ไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

 


               
              

                " เศรษฐกิจพอเพียง แปลว่า Sufficiency Economy… คำว่า Sufficiency Economy นี้ไม่มีในตำราเศรษฐกิจจะมีได้อย่างไร
เพราะว่าเป็นทฤษฎีใหม่  เพราะหมายความว่าเรามีความคิดใหม่ และโดยที่ท่านผู้เชี่ยวชาญสนใจ ก็หมายความว่า เราก็สามารถที่จะไปปรับปรุง หรือไปใช้หลักการเพื่อที่จะให้เศรษฐกิจของประเทศและของโลกพัฒนาดีขึ้น "  
พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 23 ธันวาคม 2542

 

 



 
คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วยคุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้

  • ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและ
    การบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
  • ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ
  • อย่างรอบคอบ
  • การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็น
    ไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
  • เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้
    และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน
  • กล่าวคือ
  • เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้น
    มาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
  • เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร
    ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
  • แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน
    พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี


 

กรอบแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

           พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง มาตั้งแต่เริ่มงานพัฒนาเมื่อ 50 ปี
ที่แล้ว และทรงยึดมั่นหลักการนี้มาโดยตลอด โดยเฉพาะด้านการเกษตร เราเน้นการ ผลิตสินค้า เพื่อส่งออกเป็นเชิงพาณิชย์ คือ เมื่อปลูกข้าวก็นำ
ไปขาย และก็นำเงินไปซื้อข้าว เมื่อเงินหมดก็จะไปกู้ เป็นอย่างนี้มาโดยตลอดจนกระทั่ง ชาวนาไทยตกอยู่ในภาวะหนี้สิน พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงปัญหาด้านนี้ จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งธนาคารข้าว ธนาคารโค-กระบือขึ้น เพื่อช่วยเหลือราษฎร
นับเป็นจุดเริ่มต้นแห่งที่มาของ "เศรษฐกิจพอเพียง" นับตั้งแต่อดีตกาล แม้กระทั่งโครงการแรกๆ แถวจังหวัดเพชรบุรี ก็ทรงกำชับหน่วยราชการมิให้นำเครื่องมือกลหนักเข้าไปทำงาน รับสั่งว่าหากนำเข้าไปเร็วนัก ชาวบ้านจะละทิ้งจอบ เสียม
และในอนาคตจะช่วยตัวเองไม่ได้ ซึ่งก็เป็นจริงในปัจจุบัน
      
          จากนั้นได้ทรงคิดค้นวิธีการที่จะช่วยเหลือ ราษฎรด้านการเกษตร จึงได้ทรงคิด "ทฤษฎีใหม่" ขึ้น เมื่อปี 2535 ณ

ครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณวัดมงคลชัยพัฒนาอัน เนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสระบุรี เพื่อเป็น ตัวอย่างสำหรับการทำการเกษตรให้แก่ราษฎร ในการจัดการด้านที่ดินและแหล่งน้ำในลักษณะ 30:30:30:10 คือ ขุดสระและเลี้ยงปลา 30 ปลูกข้าว 30 ปลูกพืชไร่พืชสวน 30
และสำหรับเป็นที่อยู่อาศัย ปลูกพืชสวน และเลี้ยงสัตว์ใน 10 สุดท้าย ต่อมาได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมมา โดยตลอด เพื่อให้เกษตรกรซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศมีความแข็งแรงพอ ก่อนที่จะไปผลิตเพื่อการค้าหรือเชิงพาณิชย์ โดยยึดหลักการ
"ทฤษฎีใหม่" 3 ขั้น

http://61.19.192.250/intra/Images/231.jpeg

 


การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

1.    ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพอย่างจริงจังดังพระราชดำรัส
        ว่า  . . . ความเป็นอยู่ที่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อ ต้องประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง. . .

 2.   ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดำรงชีพก็ตาม ดังพระราช
       ดำรัสที่ว่า  . . . ความเจริญของคนทั้งหลายย่อมเกิดมาจาก การประพฤติชอบและการหาเลี้ยงชีพของตนเป็นหลัก
       สำคัญ. . .

3.   ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าขายประกอบอาชีพแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรงดังอดีต
      ซึ่งมีพระราชดำรัสเรื่องนี้ว่า  . . . ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้นหมายถึงความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหามา
     ได้ด้วยความเป็นธรรมทั้งในเจตนา และการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญหรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมา
     จากผู้อื่น. . .

4.  ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางในชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยากครั้งนี้ โดยต้องขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้เกิดมีรายได้เพิ่ม
     พูนขึ้นจนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ พระราชดำรัสตอนหนึ่งที่ให้ความชัดเจนว่า . . . การที่ต้องการให้ทุก
     คนพยายามที่จะหาความรู้ และสร้างตนเองให้มั่นคงนี้เพื่อตนเองเพื่อที่จะให้ตัวเองมีความเป็นอยู่ที่ก้าวหน้า ที่มี
     ความสุข พอมีพอกินเป็นขั้นหนึ่ง และขั้นต่อไป ก็คือให้มีเกียรติว่ายืนได้ด้วยตัวเอง. . .

5. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดีลดละสิ่งยั่วกิเลสให้หมดสิ้นไป ทั้งนี้ด้วยสังคมไทยที่ล่มสลายลงในครั้งนี้ เพราะยังมีบุคคลจำนวนมิใช่น้อยที่
ดำเนินการโดยปราศจากละอายต่อแผ่นดิน พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราโชวาท ว่า       "
ถ้าไม่มีเศรษฐกิจพอเพียงเวลาไฟดับ …จะพังหมด จะทำอย่างไร.ที่ที่ต้องใช้ไฟฟ้าก็ต้องแย่ไปหากมีเศรษฐกิจพอเพียงแบบไม่เต็มที่ถ้าเรามีเครื่องปั่นไฟก็ให้ปั่นไฟหรือถ้าขั้นโบราณกว่ามืดก็จุดเทียนคือมีทางที่จะแก้ปัญหาเสมอฉะนั้น
เศรษฐกิจพอเพียงนี้ก็มีเป็นขั้นๆแต่จะบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียงนี้ให้พอเพียงเฉพาะตัวเองร้อยเปอร์เซ็นต์นี่เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้จะต้องมีการแลกเปลี่ยนต้องมีการช่วย
กันพอเพียงในทฤษฎีหลวงนี้ คือให้สามารถที่จะดำเนินงานได้   "
พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนพรรษา 23 ธันวาคม 2542

 

          
http://porasit.exteen.com/images/king/DSC03978.jpg

ที่มาของภาพ
หลักการของเศรษฐกิจพอเพียง

1. การพึ่งตนเอง เป็นหลักการที่ยึดหลักของตนเป็นที่พึ่งแห่งตน สามารถพึ่งตนเองได้ อุ้มชูตนเองได้และ
ไม่พึ่งพาปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ที่เราได้เป็นเจ้าของ และพึ่งพาตนเองได้โดยไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
 และไม่เป็นภาระของใคร รู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มา
ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิต

2. การรวมกลุ่มของชาวบ้านมารวมกลุ่มกันดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ เช่น การทำการ
เกษตรแบบผสมผสานรวมกลุ่มกันทำหัตถกรรม การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การใช้ภูมิปัญญาจากท้องถิ่น การพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้านและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการและสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นตนเอง

3. ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และความสามัคคี การอยู่รวมกันในสังคมควรจะมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
 มีน้ำใจต่อกัน ไม่เบียดเบียนกัน 
มีจิตใจเอื้ออาทรต่อเพื่อนมนุษย์ มีการประนีประนอม และควรมีความสามัคคีเพื่อจะได้ร่วมมือกันในการ
ประกอบกิจการงานต่าง ๆ ให้ประสบผลสำเร็จ

4. การจัดการ ควรจะมีการบริหารจัดการที่ดี การประกอบอาชีพใด ๆ ควรใช้ความรู้ ความสามารถ 
และการจัดการที่จะรู้จักใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างชาญฉลาด

http://porasit.exteen.com/images/king/DSC03980.jpg
ที่มาของภาพ

วิธีการปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
           คนไทยจะต้องยึดหลักพออยู่ พอกิน พอใช้

  • มีความประหยัด โดยพยายามตัดทอนรายจ่าย และลดความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีวิต
  • ประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องและสุจริต ไม่ประกอบอาชีพที่ผิดศีลธรรมและผิดกฎหมาย
  • ไม่ควรแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันในการประกอบอาชีพอย่างรุนแรง
  • ใช้ความรู้ความสามารถพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเป็นการเพิ่มพูนรายได้ให้กับตนเอง ครอบครัว และชุมชน
  • ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และมีความสามัคคีในครอบครัวและชุมชนการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอ 


        
http://www.baanjomyut.com/library/new_land/02.jpg
 ที่มาของภาพ
วิธีการของเศรษฐกิจพอเพียง

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวคิดที่เรียกว่า “การเกษตรทฤษฎีใหม่” มีหลักสำคัญ คือ การบริหารจัดการที่ดินและน้ำเพื่อการเกษตรในที่ดินจำนวนไม่มากนักให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีวิธีการปฏิบัติ ดังนี้
         

         
 ขั้นที่ 1 มีความพอเพียงสามารถเลี้ยงตนเองได้บนพื้นฐานของความประหยัด
เป็นขั้นตอนที่ทำการเกษตร คือ มีข้าว พืชผัก ผลไม้ ที่อยู่อาศัย และน้ำในพื้นที่ที่ตนมีอยู่ โดยไม่ต้องอาศัยใคร เป็นการอยู่แบบพอมีพอกิน
                    
 ขั้นที่ 2 รวมพลังกันในรูปของกลุ่มเพื่อทำการผลิต การตลาด และการจัดการ เน้นการช่วยเหลือและร่วมมือกัน รวมทั้งส่งเสริม 
ด้านการศึกษา สวัสดิการต่าง ๆ ให้กับคนในชุมชน
          
ขั้นที่ 3 ขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยติดต่อจัดหาทุนเพื่อนำมาใช้ในการลงทุน และพัฒนาคุณภาพชีวิต
จัดตั้งกองทุนสนับสนุนเกษตรกร เป็นต้น 
                                    
ประเด็นคำถาม :    นักเรียนสามารถนำหลักการเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต
์ใช้ในการเรียน การทำงาตลอดจนการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างไรบ้าง         
กิจกรรมเสนอแนะ : ให้นักเรียนจัดทำบันทึกความพอเพียง เพื่อบันทึกเรื่องราวและกิจกรรมที่นักเรียนคิดว่า
ได้นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต อย่างน้อยเป็นเวลา 1 เดือน
เพื่อประเมินความสุขที่ได้รับจากการยึดหลักความพอเพียง...และเพียงพอในชีวิต